About Hedgehog Cute

Welcome To Hedgehog Cute...ยินดีต้อนรับสู่บ้านเม่นน่ารัก พบกับเม่นแคระหลากหลายสี น่ารักๆ เต็มไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง และด้วยความแปลกเลี้ยงง่าย และน่ารักของเม่นแคระนี่เองที่เป็นสเน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนหลงไหลในตัวมัน ทำให้ปัจจุบันเม่นแคระมีผู้นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายมากขึ้นในเมืองไทย ขอบคุณเพื่อนๆที่แวะมาเยี่ยมชมนะคะ...Hedgehog Cute

รับฝากซื้อสินค้าจาก EBAY

แมงมุมทารันทูรา (Tarantula)

แมงมุมทารันทูรา (Tarantula)



              แมงมุมทารันทูราเป็นแมงมุมดึกดำบรรพ์ จากการสำรวจพบว่าแมงมุมทารันทูรา มีมากกว่า 700 ชนิด ทารันทูราแต่ละชนิดมีความเป็นอยู่หลากหลาย บางชนิด อยู่ในพื้นที่กึ่งทะเลทราย บางชนิดอาศัยในป่าร้อนชื้น บางชนิดอาศัยในรู และบางชนิดอยู่บนต้นไม้ ทารันทูราล่าเหยื่อด้วยการกัดบางชนิดสามารถป้องกันตัวโดยการเตะขนที่ก้น เพื่อให้ปลิวไปถูกศัตรูเพื่อให้เกิดอาการคัน ในธรรมชาติทารันทูรา หาอาหารด้วยวิธีการล่าเหยื่อไม่ใช่สร้างใยให้เหยื่อมาติดแบบแมงมุมในกลุ่ม spider ทารันทูราสามารถอดอาหารได้นานหลายเดือน การที่แมงมุมหยุดกินอาหารในบางช่วงจึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่การได้รับอาหารอย่างสม่ำเสมอก็ทำให้ทารันทูราเจริญเติบโตเร็วอีกด้วยคนไทยเรียกว่าบึ้ง มี4 ชนิด บึ้งดำ, บึ้งลาย, บึ้งน้ำตาล, บึ้งน้ำเงิน ทารันทูรามีการลอกคราบ ในวัยเล็กจะมีการลอกคราบบ่อย มากกว่าสัปดาห์ละครั้ง เมื่อโตมากขึ้นระยะห่างการลอกคราบแต่ละครั้งจะเพิ่มขึ้น เช่น เดือนละ 1ครั้ง ถึงปีละ 2 ครั้งเมื่อโตเต็มวัย

อายุของแมงมุมทารันทูรา : 
              ตัวผู้จะมีอายุประมาณ 2 ปี ตัวเมียสามารถมีอายุได้ถึง 20ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดด้วย

              ปัจจุบัน แมงมุมทารันทูราได้ถูกนำออกจากป่ามาเลี้ยงในเมือง โดยผู้หลงใหลในชีวิตสัตว์โลก และได้ทำการเพาะพันธุ์แมงมุม เพื่อดำรงสายพันธุ์แมงมุมให้คงอยู่ในโลกต่อไปในยุคสังคมเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว ท่านผู้สนใจเริ่มเลี้ยงทารันทูราควรตระหนักว่า ทารันทูราทุกชนิดกัดได้ ไม่ควรจับเล่นแม้แต่แมงมุมที่คิดว่าเชื่อง
              ถ้าถามว่าแมงมุมกัดคนตายหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ มีอยู่เพียง 2 สายพันธุ์ที่มีพิษร้ายแรง Pterinochilus, Poecilotheria ไม่รวมจำพวก trapdoor, spider แต่สายพันธุ์อื่นก็ต้องระวังเช่นกันเพราะขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีอาการแพ้เพียงใด


เลือกชนิดแมงมุมทารันทูราที่จะเลี้ยง

             ทารันทูรามีหลากหลายชนิด แต่ทารันทูราที่เหมาะกับผู้เริ่มเลี้ยงเป็นตัวแรกมีเพียงไม่กี่ชนิด ซึ่งที่จะแนะนำมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

Grammostola Rosea




Grammostola Rosea


         อาศัยในเขตประเทศชิลี อาศัยในพื้นที่แห้ง ขนจะมีสีชมพูสีขนจะชัดเจนมากในตัวผู้ ทารันทูราชนิดนี้เชื่องมากแทบไม่เคยแสดงอาการก้าวร้าวใดๆราคาถูกและเลี้ยงง่ายจึงเหมาะสมที่สุดที่จะเลี้ยงเป็นตัวแรกถึงจะเป็นชนิดที่เป็นมิตรที่สุด แต่เคยมีคนโดนกัดมาแล้ว ขอย้ำว่าทารันทูราไม่ควรจับเล่น



Brachypelma Smithi


Brachypelma Smithi

        อาศัยในเขตประเทศเม็กซิโก อาศัยในพื้นที่แห้งเป็นแมงมุมที่สวยงามได้รับความนิยมอย่างมาก แมงมุมชนิดนี้สามารถเตะขนได้ เมื่อขนปลิวมาสัมผัสผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคัน ปกติแล้วอาการจะไม่รุนแรงมากนักขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะมีอาการแพ้หรือไม่ Brachypelma Smithi เป็นอันดับที่ 2 ที่แนะนำ เพราะไม่ก้าวร้าว กินเก่ง โตเร็ว เลี้ยงง่าย ราคาไม่แพง แต่ความเป็นมิตรน้อยกว่า Grammostola Rosea




สำหรับแมงมุมทารันทูรา ขอแนะนำเพียง 2 ชนิด สำหรับผู้เริ่มเลี้ยง แมงมุมที่อาศัยในพื้นที่แห้งเลี้ยงง่ายที่สุด เมื่อคุ้นเคยแล้ว อาจเลี้ยงทารันทูรา ที่อาศัยในรู หรืออาศัยบนต้นไม้ เพิ่มขึ้นตามความพอใจ

ตู้-กล่องเลี้ยง :
              ตู้กระจก ตู้พลาสติก ตู้อคิลิก ก็ได้แล้วแต่ความต้องการของผู้เลี้ยง แต่จะต้องมีช่องระบายอากาศให้ถ่ายเทได้สะดวก และปิดมิดชิดเพื่อไม่ให้แมงมุมทารันทูราปีนหนีได้ สำหรับการเลี้ยงนั้น 1 ตู้ควรเลี้ยงเพียง 1ตัว เท่านั้น เพราะแมงมุมทารันทูราหากเลี้ยงรวมกันอาจกัดกินกันได้ และภายในตู้ควรมีถ้วยน้ำใบเล็กๆ วางไว้เพื่อให้น้ำแมงมุมด้วย

วัสดุรองพื้นตู้ :
              สามารถใช้ได้หลายสิ่ง แต่ที่ต้องการแนะนำ คือ พีทมอส ,ขุยมาพร้าว เหมาะกับแมงมุมทุกประเภท และสามารถเก็บความชื้นได้ดีสำหรับทารันทูราที่ต้องการความชื้น และใส่ให้หนามากขึ้นสำหรับ
ตัวที่อาศัยในรู

อาหารของแมงมุมทารันทูรา :  

             แมงมุมทารันทูราเป็นสัตว์ล่าเหยื่อ มักกินแต่สิ่งมีชีวิต การนำเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วให้เป็นอาหาร อาจทำได้แต่ยากที่แมงมุมทารันทูรายินดีที่จะกินมัน เมื่อให้อาหารที่มีชีวิตแล้ว หากทารันทูราไม่กินให้เอาออก เพราะเหยื่อตัวนั้นอาจทำอันตรายแมงมุมทารันทูรา ตัวอย่างอาหารที่นิยมนำมาเลี้ยงแมงมุมทารันทูรา เช่น จิ้งหรีด หนอนนก หนูแดง ฯ

ภาพตัวอย่างของแมงมุมทารันทูรา










ที่มา : oknation.net

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น